1. พฤติกรรมการเรียน
1.1 ความหมายของพฤติกรรมการเรียน เครนดัน และบาร์คเลย์ (Cranstion and Barcley 1985 : 136) ได้ให้ความเห็นว่า พฤติกรรมในการเรียนของผู้ เรียนและเจตคติของผู้ เรียนทีมีต่อการเรียน การสอน ผู้ สอน และ สัมพันธภาพกับเพื่¬อน หมายถึง วิธีการเรียนของผู้เรียนทีตอบสนองต่อสิ่งเร้าขณะนั่นเอง สุมานิน รุ่งเรืองธรรม (2526 : 33) ได้สรุปว่าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนมี จุดมุ่งหมาย เพื่่อเปลียนแปลงพฤติกรรมให้ผู้เรียนมีความเจริญสูงสุด โดยผ่านประสบการณ์ ต่าง ๆ ดังนั้น จึงอาจ กล่าวได้ว่าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนก็คือ สิ่งที่บุคคลการกระทำขณะที่เรียนนั่นเองโสภา ชูพิกุลชัย (2528 : 111) ให้ความหมายของพฤติกรรมการเรียน หมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมที-นักเรียนแสดงออกในด้านการเรียน การตอบสนองหรือปฏิกิริยาที่นักเรียนมีต่อประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมในขณะที่เรียนด้วย ดังนั้น พฤติกรรมการเรียนของ นักเรียนนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักเรียนเป็นสําคัญ
กิงกาญจน์ ปานทอง (2545 : 19) อธิบายความหมายของพฤติกรรมการเรียนไว้ว่า หมายถึงการปฏิบัติตัวของนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนทั้งในและนอกห้องเรียนได้อย่าง เหมาะสมกับวัน เวลา และสถานที่ได้แก่ การแบ่งเวลาในการเรียน การเข้าเรียน การฟัง การอ่าน การจดโน้ตเพื่่อช่วยจํา การส่งการบ้าน การทบทวนบทเรียน และการเตรียมตัวสอบ เป็นต้น จากการที¬ผู้วิจัยได้ศึกษามาพบว่า ในความหมายของคําว่าพฤติกรรมการเรียน (Learning Behavior) ยังมีคําที่คล้ายคลึงกัน เช่น ทักษะการเรียน (Study Skill) เทคนิคการเรียน (Study Techniques) นิสัยในการเรียน (Study Habits) และยุทธวิธีการเรียน (Learning Strategies) ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น คําว่าพฤติกรรมการเรียนได้กินความหมายของหลายคําขึ้นมา ซึ¬งผู้วิจัยจะนําเสนอทั้งหมดดังนี้
เรนน์ และราเซน (Wrenn and Larsen 1969 : 1-4) ได้เสนอว่าทักษะในการเรียนและ เทคนิคในการเรียนเป็นลักษณะของพฤติกรรมแบบหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของนิสัยในการเรียน ซึ่่งนิสัย ในการเรียน (Study Habits) เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที¬แสดงออก หรือกระทํา ในการเรียนรุ้ เกี่¬ยวกับสิ่งของและบุคคล (Jearakul 1976 : 15) ซึงลักษณะนิสัยในการเรียนนั้นจะรวมไปถึง เทคนิค ในการเรียน และทักษะในการเรียนด้วย
(วิชชุดา เตียวกุล 2529 : 6) เช่นเดียวกับ ผ่องพรรณ เกิด พิทักษ์ (2538 : 1) ทีกล่าวว่านิสัยในการเรียน หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกอย่างสม่ำเสมอ แสดงถึง 12 ความพอใจและมุ่งมั่นทีจะศึกษาหาความรู้ ให้บรรลุผลสําเร็จ ซึงพฤติกรรมดังกล่าวประกอบด้วยความ ตั้งใจ และเอาใจใส่ในการเรียน การวางแผนและการจัดระบบการเรียน มีความมุ่งมั่นทีจะแสวงหา ความรู้ และพัฒนาการเรียนให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความคิดริเริ่ม ขยัน อดทน รับผิดชอบ พึ่งตนเอง และมีความภาคภูมิใจในผลการเรียนของตน ยุทธวิธีการเรียน (Learning Strategies)
นัน เวนสเติน และเมเยอร์ (Weinstein and Mayer 1986 : 315-317) ได้นิยามความหมายไว้ว่า เป็นพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมี กระบวนการศึกษาหาความรู้ อย่างไร ตัวอย่างเช่น การขีดเส้นใต้ข้อความที¬ สําคัญ ๆ การสรุปประเด็น สําคัญของสิ่งทีเรียน หรือการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพือให้สิงที่เรียนกระจ่างขึน
พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา พฤติกรรมการเรียน หมายถึง การปฏิบัติตนของนักศึกษา สามารถแบ่งได้ 10 ด้าน คือ
1. ทัศนคติในการเรียน (Attitude) หมายถึง ความรู้ สึกที่แสดงออกมาว่านักศึกษา สนใจ เอาใจใส่กับการเรียน เช่น การแสดงความรู้สึกว่าชอบต่อวิชา และกิจกรรมที่เรียน2. แรงจูงใจในการเรียน (Motivation) หมายถึง การมีวินัยในตนเองและความ พยายามในการทํางานหนัก โดยการแสดงออกของนักศึกษาในการเรียนอย่างหนัก
3. การจัดการกับเวลาทางในการเรียน (Time Managment) หมายถึง การจัด ตารางเรียน และใช้เวลาในระหว่างวันอย่างมีประโยชน์
4. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการเรียน (Anxiety in Learning) หมายถึง การที่นักศึกษาแสดงความเครียดขณะเรียน หวาดหวั่นขณะสอบ กังวลใจและสับสนจนไม่ สามารถทำข้อสอบได้เต็มที่สมาธิถูกรบกวน แม้จะเตรียมตัวมาอย่างดี
5. การมีสมาธิต่อการเรียนและการเอาใจใส่ต่อการเรียน (Concentration) หมายถึง การที่นักศึกษาไม่สามารถรวบรวมสมาธิ เพราะรู้ สึกกระวนกระวายใจ หรืออารมณ์ไม่ดี ใจลอย ไม่ สนใจสิ่งที่เรียนและมักคิดถึงสิ่งอื่น
6. กระบวนการรวบรวมข้อมูล (Information processing) หมายถึง การที่นักศึกษา กระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ และใช้เหตุผล โดยการทําความเข้าใจกับสิ่งที่เรียนเป็นภาษาตนเอง โดยนําเนื้อหาทั้งหมดมาประมวลเข้ากันอย่างมีเหตุผล และหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทีเรียนกับ ประสบการณ์เดิม นํามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
7. การเลือกใจความสําคัญและการจดจําเนื้อหาที่สําคัญของบทเรียน (Selecting Main Ideas) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะข้อมูลที่สําคัญ และสรุปใจความสําคัญ ออกจาก รายละเอียด ขณะฟังคําบรรยาย หรืออ่านหนังสือ
8. การใช้เทคนิคและเครื่องมืออุปกรณ์ช่วยเหลือในการเรียน (Study Aids) หมายถึง การนํายุทธวิธีหรือเทคนิคในการเรียนมาใช้ เช่น การขีดเส้นใต้ วาดรูป แผนภูมิ แผนผัง ตาราง เพื่อสรุปเนื้อหา รวมกลุ่มติว ทบทวนวิชาที่เรียน หรือนําสมุดจดคําบรรยายมาเปรียบเทียบกับเพื่อน
9.การทดสอบตนเอง การทบทวน และการเตรียมตัวในการเรียน (Self Testing) หมายถึง การทีนักศึกษาทดสอบตนเองโดยการตั้งคําถาม เพื่อทดสอบว่าเข้าใจบทเรียนหรือไม่ มีการ ทบทวนบทเรียนหลังเรียน และตรวจสอบการบ้าน รายงานที่ได้รับมอบหมาย
10. ยุทธวิธีในการสอบและการเตรียมตัวสอบ (Test Strategies) หมายถึง การที่ นักศึกษานํากลยุทธ์ วิธีการ เทคนิคมาใช้ในการสอบโดยการเตรียมตัวสอบ เช่น การสรุปคําบรรยาย จดจํากฎ ไวยากรณ์ คําศัพท์ สูตรต่าง ๆ และนักศึกษามีการเตรียมตัวก่อนสอบโดยการอ่านหนังสือให้ ครบถ้วน
พฤติกรรมการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
1. การศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี นักศึกษามีพบว่า โดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนเหมาะสมค่อนข้างมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า พฤติกรรมการเรียนมากทีสุดของนักศึกษาด้านการรวบรวมข้อมูลและกระตือรือร้น ในการหาความรู้ และพฤติกรรมน้อยทีสุดด้านทัศนคติในการเรียน1.1 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ด้านทัศนคติในการเรียน พบว่า โดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนเหมาะสม ค่อนข้างมาก พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมทีเหมาะสมมากที่สุด คือ ไม่สนใจว่าจะ เรียนจบหรือไม่ตราบใดที่สามารถหาคู่ครองได้ และพฤติกรรมทีเหมาะสมน้อยที่สุด คือ คิดว่าวิชาที่สอนในชั้น ไม่มีคุณค่าที่จะเรียนรู้เลย
1.2 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ด้านแรงจูงใจในการเรียน พบว่า โดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนเหมาะสม ค่อนข้างมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า พฤติกรรมการเรียนเหมาะสมมากที่สุด คือ ทํางานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันเวลา และพฤติกรรมที่เหมาะสมน้อยที่สุด คือ มักอ้าง เหตุผลเข้าข้างตัวเองเมื่อไม่สามารถเรียนหรือทํางานสําเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย
1.3 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ด้านการจัดการเวลาในการเรียน พบว่า โดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนเหมาะสม ค่อนข้างน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมการเรียนเหมาะสมมากที่สุด คือ มุ่งท่องหนังสืออย่างหนักเฉพาะช่วงใกล้สอบในการสอบทุกครั้ง และพฤติกรรมที่เหมาะสมน้อยที่สุด คือ พบว่ามันเป็นการยากที่ต้องเรียนตามตารางเรียนที่ได้วางไว้
1.4การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ด้านความวิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการเรียน พบว่า โดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรม การเรียนเหมาะสมค่อนข้างมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมที่เหมาะสมมากที่สุด คือ มุ่งท่องหนังสืออย่างหนักเฉพาะช่วงใกล้สอบในการสอบทุกครั้ง และพฤติกรรมการเรียน เหมาะสมน้อยที่สุด คือ รู้สึกกังวลว่าจะสอบตกและต้องออกจากมหาวิทยาลัย
1.5 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ด้านการมีสมาธิและการเอาใจใส่ต่อการเรียน พบว่า โดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรมการเรียน เหมาะสมค่อนข้างน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมการเรียนเหมาะสมมากที่สุด คือ ไม่เข้าใจเนื้อหาบางวิชาเพราะว่าไม่ได้ตั้งใจฟังอย่างจริงจัง
1.6 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ด้านกระบวนการรวบรวมข้อมูลและความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ พบว่า โดยรวมนักศึกษามี พฤติกรรมการเรียนเหมาะสมค่อนข้างมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมการเรียน เหมาะสมมากที่สุด คือ ทําความเข้าใจสิ่งทีได้เรียนเป็นภาษา และพฤติกรรมที่ เหมาะสมน้อยที่สุด คือ เมื่อเรียนเรื่องอะไรมักพยายามนําเนื้อหาทั้งหมดมาประมวล ให้เข้ากันได้อย่างมีเหตุผลเป็นลําดับสุดท้าย
1.7 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี การเลือกใจความสำคัญและการจดจําเนื้อหาที่สำคัญ พบว่า โดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรม การเรียนเหมาะสมค่อนข้างน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมการเรียนเหมาะสมมาก ที่สุด คือ สามารถแยกแยะข้อมูลที่สําคัญหรือไม่สําคัญได้ขณะที่จดคําบรรยาย และ พฤติกรรมที่เหมาะสมน้อยที่สุด คือ มันเป็นการยากสําหรับที่จะตัดสินใจว่าอะไรเป็นสิ่ง สําคัญที่ต้องขีดเส้นใต้ในบทเรียน
1.8 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ด้านการใช้เทคนิคและอุปกรณ์ต่างช่วยเหลือในการเรียน พบว่า โดยรวมนักศึกษามี พฤติกรรมการเรียนเหมาะสมมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมการเรียนเหมาะสม มากที่สุด การขีดเส้นใต้ข้อความในบทเรียนมีประโยชน์ต่อการทบทวนบทเรียน และ พฤติกรรมที่เหมาะสมน้อยที่สุด คือ ให้ความสําคัญกับประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของ ย่อหน้าขณะที่อ่านหนังสือ
1.9 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ด้านการทดสอบตัวเองและการ ทบทวนและการเตรียมตัวในการสอบ พบว่า โดยรวม นักศึกษามี พฤติกรรมการเรียนเหมาะสมมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมการเรียน เหมาะสมมากที่สุด คือ ในขณะอ่านหนังสือ มักหยุดอ่านเป็นช่วง ๆ และทบทวนสิ่งที่อ่านไป แล้วในใจ และพฤติกรรมที่เหมาะสมน้อยที่สุด คือหลังจากเรียนเสร็จได้ทบทวนบทเรียน เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาเหล่านั้น
1.10 การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี ยุทธวิธีในการสอบและการเตรียมตัวสอบ พบว่า โดยรวมนักศึกษามีพฤติกรรมการเรียน เหมาะสมมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า พฤติกรรมที่เหมาะสมมากที่สุด คือ สอบได้ 78 คะแนนน้อย เพราะมีเวลาเตรียมตัวน้อย และพฤติกรรมการเรียนเหมาะสมน้อยที่สุด คือ ไม่สามารถสรุปสาระที่ ได้ฟังจากการบรรยาย หรืออ่านจากหนังสือได้
สรุปได้ว่าพฤติกรรมการเรียน หมายถึง การกระทำกิจกรรม การตอบสนอง ปฏิกิริยา หรือวิธีการและเทคนิคในการเรียนของนักเรียน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ ให้บรรลุจุดประสงค์ทีกําหนดในวิชาต่าง ๆ โดยมีการแสดงออกอย่า สม่ำเสมอด้วยความพึงพอใจ และมานะพยายามทีจะพัฒนาการเรียนให้ดีขึ้น โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
เนื้อหาเพิ่มเติมคลิกที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น