จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้ 


 การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษามีจุดม่งหมาย เพื่อรวบรวมรายละเอียดต่างๆ เพื่อแสดง ความก้าวหน้าตามเป้าหมายของหลักสูตรและเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา จุดมุ่งหมายของการวัดผลแยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ (ภัทรา นิคมานนท์ 2543 : 20)

 1. เพื่อการจัดตำแหน่ง (Placement) โดยใช้ผลการสอบบอกตำแหน่งของผู้เรียนว่ามีความรู้ ความสามารถอยู่ในระดับใดของกลุ่ม หรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วอยู่ในระดับใด การใช้แบบสอบเพื่อ จัดตำแหน่งนี้ ใช้ในวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ

 1.1 ใช้สำหรับคัดเลือก (Selection) เป็นการใช้ผลการสอบในการตัดสินใจ ในการ คัดเลือกเพื่อเข้าเรียนต่อ การเข้าทำงาน การให้ทุน ผลการสอบนี้ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงอันดับที่สำคัญ

1.2 ใช้สำหรับแยกประเภท (Classification) เป็นการใช้ผลการสอบในการจำแนก บุคคลเป็นกลุ่ม เป็นพวก เช่น ใช้ในการตัดสินได้ตก แบ่งพวกเก่งอ่อนด้านใดด้านหนึ่ง พวกที่ผ่าน เกณฑ์และยังไม่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้


2. เพื่อการเปรียบเทียบ ( Assessment ) เป็นการประเมินก่อนเริ่มต้นการเรียนการสอน (Pre-test) ของแต่ละบทเรียนหรือแต่ละหน่วย เพื่อพิจารณาดูว่าผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการ เรียนเพียงใด ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าในระหว่างการเรียนรู้ ผู้เรียนควรมีความรู้เพิ่มอย่างไร และเป็นการ พิจารณาดูว่าในการสอนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพผู้เรียน อนึ่งหากว่าผลการประเมินผลก่อนเรียน พบว่า ผู้เรียนมีพื้นฐานไม่พอเพียงที่จะเรียนในเรื่องที่จะสอน ก็จำเป็นต้องได้รับการสอนซ่อมเสริมให้ มีพื้นฐานที่พอเพียงเสียก่อนจึงจะเริ่มต้นสอนเนื้อหาในหน่วยการเรียนต่อไปได้


 3. เพื่อการวินิจฉัย ( Diagnosis )เป็นการใช้ผลการสอบเพื่อค้นหาจุดเด่น จุดด้อยของผู้เรียน ว่ามีปัญหาในเรื่องอะไร เพื่อจะนำไปสู่การตัดสินใจแก้ไขปรับปรุงให้ตรงเป้า แบบทดสอบที่ใช้เพื่อการนี้ คือแบบสอบวินิจฉัยการเรียน ( Diagnostic Test ) การนำผลการสอบไปใช้ในการวินิจฉัยการเรียนนี้ มักใช้ในวัตถุประสงค์ 2 ประการดังนี้คือ


3.1 เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนหรือประเมินผลย่อย โดยการประเมินผลนี้ใช้ระหว่าง มีการเรียนการสอน เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ หากว่าผู้เรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนก็จะหาวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนนั้นมีความรู้ตามเกณฑ์ที่ ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังใช้ผลการประเมินเพื่อตรวจสอบตัวผู้สอน เช่น ผลจากการสอนเนื้อหาเรื่องหนึ่ง ปรากฏว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ในกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่าน จุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนก็อาจจะตรวจสอบว่าการสอนของตนเองเป็นอย่างไร การอธิบายชัดเจนหรือไม ่ เมื่อผู้สอนตรวจสอบดูแล้วหากพบข้อบกพร่องจุดใดก็แก้ไขตรงตามนั้น การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือเพียงใด หากพบว่ามีข้อ บกพร่องในจุดประสงค์ใด ก็จะได้ใช้ข้อมูลนั้นๆ เป็นแนวในการปรับปรุง การเรียนของผู้เรียนเป็นราย บุคคลหรือรายกลุ่ม และเป็นการพัฒนาวิธีการสอนของครูต่อไป นอกจากผลการประเมินยังช่วยปรับปรุงการเรียนการสอนแล้ว หากว่าเนื้อหาบางตอนที่ผู้สอน ได้พยายามปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเต็มที่กับผู้เรียนหลายกลุ่มแล้ว ผลก็ยังเป็นอย่างเดิม คือ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่านจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ แม้ผู้สอนจะได้พยายามปรับปรุงข้อบกพร่องตามประเด็น แล้วก็ตาม แสดงว่าจุดประสงค์ที่ตั้งไว้อาจจะสูงเกินไปไม่เหมาะกับผู้เรียนหรือเนื้อหา อาจจะยากหรือ ซับซ้อนเกินไป ที่จะบรรจุในหลักสูตรระดับนี้ ผลจากการประเมินผลจะเป็นประโยชน์สามารถใช้เป็น ข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตรได้ การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือเพียงใด หากพบว่ามีข้อ บกพร่องในจุดประสงค์ใด ก็จะได้ใช้ข้อมูลนั้นๆ เป็นแนวในการปรับปรุง การเรียนของผู้เรียนเป็นราย บุคคลหรือรายกลุ่ม และเป็นการพัฒนาวิธีการสอนของครูต่อไป นอกจากผลการประเมินยังช่วยปรับปรุงการเรียนการสอนแล้ว หากว่าเนื้อหาบางตอนที่ผู้สอน ได้พยายามปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเต็มที่กับผู้เรียนหลายกลุ่มแล้ว ผลก็ยังเป็นอย่างเดิม คือ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่านจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ แม้ผู้สอนจะได้พยายามปรับปรุงข้อบกพร่องตามประเด็น แล้วก็ตาม แสดงว่าจุดประสงค์ที่ตั้งไว้อาจจะสูงเกินไปไม่เหมาะกับผู้เรียนหรือเนื้อหา อาจจะยากหรือ ซับซ้อนเกินไป ที่จะบรรจุในหลักสูตรระดับนี้ ผลจากการประเมินผลจะเป็นประโยชน์สามารถใช้เป็น ข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตรได้ การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือเพียงใด หากพบว่ามีข้อ บกพร่องในจุดประสงค์ใด ก็จะได้ใช้ข้อมูลนั้นๆ เป็นแนวในการปรับปรุง การเรียนของผู้เรียนเป็นราย บุคคลหรือรายกลุ่ม และเป็นการพัฒนาวิธีการสอนของครูต่อไป นอกจากผลการประเมินยังช่วยปรับปรุงการเรียนการสอนแล้ว หากว่าเนื้อหาบางตอนที่ผู้สอน ได้พยายามปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างเต็มที่กับผู้เรียนหลายกลุ่มแล้ว ผลก็ยังเป็นอย่างเดิม คือ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่านจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ แม้ผู้สอนจะได้พยายามปรับปรุงข้อบกพร่องตามประเด็น แล้วก็ตาม แสดงว่าจุดประสงค์ที่ตั้งไว้อาจจะสูงเกินไปไม่เหมาะกับผู้เรียนหรือเนื้อหา อาจจะยากหรือ ซับซ้อนเกินไป ที่จะบรรจุในหลักสูตรระดับนี้ ผลจากการประเมินผลจะเป็นประโยชน์สามารถใช้เป็น ข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตรได้ 3.2 เพื่อตัดสินผลการเรียนการสอนหรือการประเมินผลรวม การประเมิน ผลนี้ใช้หลังจากผู้เรียนได้เรียนไปแล้ว ช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือสิ้นสุดการเรียนบทหนึ่งหรือหลายบท โดยผู้สอนต้องการทราบว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้มากน้อยเพียงใด ผู้เรียน คนไหนเก่งหรือ อ่อนในเรื่องใด ใช้ในการตัดสินผลการเรียนการสอน หรือตัดสินใจ ว่าผู้เรียนคนใด ควรจะได้รับระดับคะแนนใด และนอกจากนี้ยังใช้ในการพยากรณ์ผลสำเร็จในราย วิชาต่อเนื่องต่อไปด้วย

 4. เพื่อการพยากรณ์ (Prediction) การวัดผลสามารถทำหน้าที่ทำนายหรือคาดคะเนความ สำเร็จในภายภาคหน้าของผู้เรียนได้ โดยต้องทำการวิจัยให้ทราบก่อนว่าความสำเร็จที่ต้องการคาดคะเน นั้น ประกอบด้วยความสามารถประเภทใด หรือความถนัดใดบ้าง โดยใช้แบบทดสอบวัดความถนัด แล้ว นำผลที่ได้มาสร้างสมการพยากรณ์ หรือเปลี่ยนคะแนนสอบในแต่ละวิชามาสร้างเป็นกราฟ จะมองเห็น ว่าผู้เรียนมีความสามารถในวิชาใดสูง วิชาที่ได้สูงนั้นจะสามารถพยากรณ์ความสามารถในอนาคต 5. เพื่อการประเมินผล (Evaluation) เป็นการวัดเพื่อนำผลของการวัดมาสรุปว่า ผู้เรียนอยู่ ในระดับไหนของเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในการประเมินผลจากการวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน เมื่อได้ เรียนจบแล้วว่า มีคุณภาพขนาดไหนบรรลุจุดมุ่งหมายที่ต้องการขนาดไหน การประเมินผลในเรื่องนี้ ต้อง ได้จากผลการวัดให้ครอบคลุมกับจุดมุ่งหมายที่ต้องการประเมินทั้งหมด ซึ่งมีความหมายรวมไปถึงการ ประเมินผลของหลักสูตรการสอน เป็นการประเมินว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุจุดมุ่งหมายของ หลักสูตรมากน้อยเพียงใด การบริหารมีคุณภาพขนาดไหน ชวาล แพรัตกุล (2516 : 23 -28) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการวัดผลทางการศึกษาทั้ง

5 ประการ มีความต่อเนื่องกันเป็นลำดับ คือ เริ่มต้นปีการศึกษามีนักเรียนที่เลื่อนชั้นขึ้นมาใหม่ ครูผู้สอน อยากทราบว่า มีนักเรียนคนใดบ้างเก่งหรืออ่อน (วัดเพื่อจัดตำแหน่ง) และในระหว่างภาคเรียนก็ต้อง การทราบว่าใครเก่งหรืออ่อนในวิชาที่สอนอย่างไร(วัดเพื่อวินิจฉัย)เพื่อจัดการสอนให้เหมาะสม เมื่อหมด ภาคเรียนก็มีการทดสอบเพื่อจะดูว่าเด็กนักเรียนคนใดเรียนดีขึ้นหรือลดลงเพียงใด (วัดเพื่อเปรียบ เทียบ) และก็ต้องการทราบว่าต่อไป ในอนาคตนักเรียนคนใดควรเรียนต่อหรือไม่ และควรจะเรียนอะไร จึงจะดี (วัดเพื่อพยากรณ์) จนในที่สุดก็ต้องการทราบว่า นักเรียนโรงเรียน จังหวัดของเรา เด่นหรือด้อย กว่าโรงเรียนอื่นหรือจังหวัดอื่นเพียงใด (วัดเพื่อประเมินค่า) เป็นต้น ปัญหาสำคัญอยู่ที่ว่าจะวัดอย่างไรจึง จะดี และวัดโดยวิธีใดจึงจะเป็นการวัดที่ถูกต้องและสมบูรณที่สุด เพื่อนำผลการวัดไปใช้ตามจุดมุ่งหมาย ทั้ง 5 ประการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หลักการวัดและประเมินผล เดี่ยว

นางสาวอมรพรรณ  แพงเพ็ง   รหัส 5841120038 คลิก